ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ



งานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ

The history about  Tenth  Lunar  Month  Festival





ภาพที่แนบมา




ประเพณี บุญสาารทเดือนสิบเกิดขึ้นด้วยเหตุผลในทำนองเดียวกับชาวอินเดียที่มีพิธี 'เปตพลี' เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะถูกปล่อยตัวจากยมโลกเพื่อให้ขึ้นมาพบญาติพี่น้องและลูกหลานในเมือง มนุษย์ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ และกลับลงไปอยู่ในนรกดังเดิม ในวันแรก 15 ค่ำเดือนสิบ ลูกหลานจึงนำอาหารไปทำบุญที่วัดเพื่อเป็นการอุทิศ ส่วนกุศลให้แด่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยทำในวันแรก ที่ผู้ล่วงลับมาจากยมโลก คือวันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า 'วันหฺมฺรับเล็ก' และวันที่ผู้ล่วงลับจะต้องกลับยมโลกดังเดิมคือวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เรียกว่า วันหฺมฺรับใหญ่' (คำว่า 'หฺมฺรับ' มาจากคำว่า 'สำรับ' )

งานจะเริ่มครึกครื้นตั้งแต่วันแรก 13 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็น 'วันจ่าย' เนื่องจากชาวเมืองจะหาซื้อสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้จัดหฺมฺรับในวันแรม 14 ค่ำเดือนสิบ 'วันยกหฺมฺรับ' หรือ 'วันรับตายาย' จะยกหฺมฺรับไปวัดและนำอาหารและขนม ส่วนหนึ่งวางไว้ตามที่ต่าง เช่น ริมกำแพงวัด โคนต้น ไม้ เป็นต้น เพื่อแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้วที่ปราศจากญาติ ระยะหลังมักนิยมสร้างร้านให้ผู้คนนำขนมมาวางรวมกัน ร้านที่สร้างเรียกว่า 'หลาเปรต' (หลา คือ ศาลา)

ที่ หลาเปรตจะมีสายสินจน์ผูกอยู่เพื่อให้พระสงฆ์สวดบังสุกุลเพื่อส่งกุศลให้ผู้ ล่วงลับ เมื่อเสร็จพิธีผู้คน จะแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า 'ชิงเปรต' เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศลแรง


1. ความเป็นมาของงานเทศกาลเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช

* “งาน เทศกาลเดือนสิบ” จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาเงินสร้างสโมสรข้า ราชการ ซึ่งชำรุดมากแล้ว โดยในช่วงนั้น พระภัทรนาวิก จำรูญ(เอื้อน ภัทรนาวิก) ซึ่งเป็นนายกศรีธรรมราชสโมสร และพระยารัษฎานุประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการได้ร่วมกันจัดงานประจำปีขึ้นโดยได้จัดกำหนดเอางานทำบุญเดือน สิบมาจัดเป็นงานประจำปี พร้อมทั้งมีการออกร้าน และมหรสพต่างๆโดยมีระยะเวลาในการจัดงาน ๓ วัน ๓ คืน จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ทางจังหวัดได้ย้ายสถานที่จัดงานจากสนามหน้าเมืองไปยังสวนสมเด็จพระศรี นครินทร์ ๘๔ (ทุ่งท่าลาด) ซึ่งมีบริเวณกว้าง และได้มีการจัดตกแต่งสถานที่ไว้อย่างสวยงาม รวมทั้งได้ทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานไปจากเดิมหลายประการ

2. ความสำคัญของประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช

* การ ทำบุญสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้ถือปฏิบัติด้วยศรัทธาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยถือเป็นคติว่าปลายเดือนสิบของแต่ละปี เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล เป็นช่วงที่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการเกษตร 
งานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ
ชื่นชมยินดีในพืชของตน ประกอบด้วยเชื่อกันว่า ในระยะเดียวกันนี้เปรตที่มีชื่อว่า “ปรทัตตูปชีวีเปรต” จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อลูกหลานญาติพี่น้อง เหตุนี้ ณ โลกมนุษย์จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปไห้พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่น้อง ลูกหลานที่ล่วงลับไป โดยการจัดอาหารคาวหวานวางไว้ที่บริเวณวัด เรียกว่า “ตั้งเปรต” ตามพิธีไสยเวทอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้พัฒนามาเป็น “การชิงเปรต” ในเวลาต่อมา

3. เหตุผลของการจัดหฺมฺรับ

* การนายก ทายิกผู้ปลายเดือนสิบอันเป็นระยะเริ่มฤดูฝน “การอิงศาสภิกษุ” ด้วยพืชผลที่ยังไม่ได้ปรุงเป็นอาหารคาวหวานสำหรับขบฉันในทันทีที่ขับประเคน นั้น ชาวเมืองมุ่งหมายจะให้เสบียงเลี้ยงสงฆ์ในฤดูกาลอันยากต่อการบิณฑบาต และเพื่อมิให้ฉันทาคติบังเกิดแก่ทั้งสองฝ่าย คือสงฆ์ และศรัทธาถวายพืชผักสดแก่สงฆ์ จึงใช้วิธี “ สลากภัต” คือจัดใส่ภาชนะตกแต่ง เรียกว่า “สำรับ” หรือ “หฺมฺรับ”

4. “หฺมฺรับ”หัวใจของการทำบุญเดือนสิบ

* การ จัดหฺมฺรับ เป็นการเตรียมเสบียงอาหารบรรจุในภาชนะเพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ในช่วงเทศกาล เดือนสิบ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ได้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ หลังจากถูกปล่อยตัวมาอยู่ในเมืองมนุษย์ช่วงเวลาหนึ่ง และต้องถึงเวลากลับไปใช้กรรมตามเดิม ฉะนั้น บรรดาลูกหลานก็จะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร ฯลฯ มิให้ขาดตกบกพร่องแล้วบรรจงจัดลงภาชนะ ตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้ให้สวยงาม เพื่อทำในสิ่งที่ดีที่สุดให้บรรพบุรุษ ด้วยใจที่เปี่ยมไปด้วยความรัก ความผูกพัน และความกตัญญู

5. การปฎิบัติตามประเพณีสารทเดือนสิบ

* ช่องของการทำบุญเดือนสิบ จะมีวันที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการเรื่อง “หฺมฺรับ” อยู่หลายวัน และจะมีชื่อเรียกแตกต่างกัน กล่าวคือ

o วันหฺมฺรับเล็ก ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ เชื่อกันว่าเป็นวันแรกที่วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วได้รับอนุญาต ให้กลับมาเยี่ยมลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะจัดสำหรับอาหารคาวหวานไปทำบุญที่วัด เป็นการต้อนรับ บางท้องถิ่นเรียกวันนี้ว่า “วันรับตายาย”

o วันจ่าย ตรงกับวันแรม ๑๓ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่คนนครต้องตระเตรียมข้าวของสำหรับจัดหฺมฺรับ โดยไปตลาดเพื่อจัดจ่ายข้าวของเป็นการพิเศษกว่าวันอื่นๆ

o วันยกหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๔ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่ลูกหลานร่วมกันแบกหาม หรือ ทูนหฺมฺรับที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว ไปถวายพระที่วัด อาจจะรวมกลุ่มคนบ้านไกล้เรือนเคียงไปเป็นกลุ่มตามธรรมชาติ หรือบางทีอาจจะจัดเป็นขบวนแห่เพื่อความคึกคักสนุกสนานก็ได้

o วันหฺมฺรับใหญ่ หรือวันหลองหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำเดือนสิบ เป็นวันที่นำอาหารคาวหวานไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัดครั้งใหญ่ ทำพิธีบังสุกุล อุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน และตั้งเปรตเพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้วิญญาณที่ไม่มีลูกหลานมาทำบุญให้ ขณะเดียวกันก็ทำพิธีฉลองสมโภชหฺมฺรับที่ยกมา

o การจัดหฺมฺรับ ส่วน ใหญ่การจัดหฺมฺรับ ส่วนใหญ่จะใช้ของแห้งที่เก็บไว้ได้นาน เพราะสะดวกในการจัดเก็บและรักษา โดยนิยมจัดในภาชนะกระบุง กะละมัง ถัง ถาด วิธีจัดจะใส่ข้าวสารรองชั้นล่าง ตามด้วยเรื่องปรุงพวกของแห้งที่ใช้ในครัว ชั้นถัดมาเป็นพวกอาหารแห้ง หยูกยา หมากพลู และของใช้จำเป็นประจำวัน ส่วนหัวใจของหฺมฺรับที่เป็นเอกลักษณ์ขาดไม่ได้มี ๕ อย่าง (บางแห่งมี๖อย่าง) เป็นคติความเชื่อที่ใช้รูปทรง ลักษณะของขนมเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งจำเป็น และควรมีสำหรับเปรต คือ ขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ ขนมกง(ไข่ปลา) และลาลอยมัน

6. สัญลักษณ์ของขนมที่ใช้ในการจัดหฺมฺรับ

* ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนเรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพ เหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพมีน้ำหนักเบาย่อมลอยน้ำ และขี่ข้ามได้

* ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณ เครื่องนุ่งห่ม เหตุเพราะขนมลามีรูปทรงดังผ้าถักทอ พับ แผ่ เป็นผืนได้

*ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่นต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้ามีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน

* ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนมคล้ายเบี้ยหอย

* ขนมกง(ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องปรัดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะคล้ายกำไล แหวน

* ลาลอยมัน เป็นสัญลักษณ์แทนฟูก และหมอน ซึ่งมีในบางท้องถิ่น

7. การตั้งเปรต

* ใน การทำบุญสารทเดือนสิบ ลูกหลานจะทำขนม หรืออาหารนำไปวางในที่ต่างๆของวัด ตั้งที่ศาลาซึ่งเป็นศาลาสำหรับเปรตทั่วไป และริมกำแพงวัด หรือใต้ต้นไม้ สำหรับเปรตที่ปราศจากญาติ หรือญาติไม่ได้ทำบุญอุทิศให้ หรือมีกรรมไม่สามารถเข้าในวัดได้ พิธีกรรมทำบุญอุทิศส่วนกุศลทำได้โดยการแผ่ส่วนกุศล และกรวดน้ำอุทิศให้ เมื่อเสร็จลูกหลานจะมีการแย่งชิงขนม และอาหารกันที่เรียกว่า “ชิงเปรต”

* การ ชิงเปรต เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากการอุทิศส่วนกุศลแก่เปรต โดยมีพระสงฆ์สวดบังสุกุล พอพระชักสายสิญจน์ที่พาดโยงไปยังอาหารที่ตั้งเปรต ลูกหลานก็จะเข้าไปแย่งเอามากิน ซึ่งของที่แย่งมาได้ถือเป็นของเดนชาน การได้กินเดนชานจากวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นความเชื่อที่ถือกันว่าเป็นการแสดงความรัก เป็นสิริมงคล และเป็นกุศลสำหรับลูกหลาน




































วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คลีโอพัตรานางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์


 คลีโอพัตรานางพญาแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์






"คลีโอพัตรา ในมุมหนึ่งที่คุณไม่เคยรู้"

พอเอ่ยชื่อ " พระนางคลีโอพัตรา " ก็ให้รู้สึกลำบากใจที่จะต้องเขียนถึง ด้วยความที่เป็นชื่อที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เอาเป็นว่าเราจะกล่าว ถึงเรื่องของพระนางเพียงพอสังเขปรวมถึงเรื่องราวในแง่มุม ที่คุณเองก็อาจจะไม่เคยได้รับรู้มาก่อน

เริ่มกันตั้ง แต่ชื่อ " คลีโอพัตรา " ที่ใครๆ เข้าใจเป็นชื่ออิยิปต์ แต่แท้ที่จริงแล้วชื่อนี้เป็นชื่อกรีกและยังเป็นกรีกมาซีโดเนียเสียด้วย ตามหน้าประวัติศาสตร์แล้วพระชายาองค์หนึ่งของพระเจ้าลิปซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้า

อเล็กซานเดอร์มหาราช ก็ทรงมีพระนามว่า " คลีโอพัตรา " และเมื่อราชวงศ์ปโตเลมีของมาซีโดเนี่ยนขึ้นปกครอง



"คลีโอพัตรา องค์สุดท้าย"

ไอยคุปต์นาม " คลีโอพัตรา " จึงนิยมตั้งชื่อกันอย่างแพร่หลายในหมู่เจ้าหญิงของราชวงศ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ราชินีคลีโอพัตราแห่งไอยคุปต์จึงมีถึง 7 พระองค์ ส่วนองค์ที่เราจะได้รับรู้เรื่องเบื้องลึก

ของพระนางในวันนี้เป็น ราชินีคลีโอพัตราองค์สุดท้าย พระนางทรงเป็นราชธิดาของฟาโรห์ออลีตีส

พระนางคลีโอพัตราในความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไปคือพระราชินี้ผู้ทรงเสน่ห์ที่สุด มีรูปโฉมที่งดงาม

เพียบพร้อมไปด้วยกลเม็ดเด็ดพรายในเชิงพิศวาส ที่สามารถมัดใจชายผู้เป็นยอดนักรบที่กล้าแกร่งให้มาซบอยู่

ตักได้ถึงสองคนในเวลาใกล้เคียงกันแต่แท้ที่จริงแล้ว เสน่ห์ของพระนางคลีโอพัตราไม่ได้อยู่ที่เนื้อหนังมังสาหรือความงดงามแห่งใบหน้าและเรือนกายเลย แต่อยู่ที่สติปัญญาและความเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันคนต่างหาก



"วาจาท่าทางแห่งมนต์เสน่ห์อันล้ำลึก"

การที่เราเข้าใจกันว่าพระนางมีเสน่ห์อันล้ำลึกยั่วยวนใจชายจนเหลือกำลังนั้นเป็นผลมาจากภาพของพระนาง

คลีโอพัตราที่เราเห็นจากภาพยนตร์ที่สร้างมาจากบทละครอันลือลั่นของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ ชื่อเรื่อง " แอนโทนี

คลีโอพัตรา " นั่นเอง และยิ่งละครและภาพยนตร์ยิ่งดังเท่าไรผู้คนก็พากันเชื่อมั่นว่าพระนางคลีโอพัตราจะต้องเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดเท่านั้นแต่จากหลักฐานที่นักเขียนชีวประวัติลือนามอย่าง" พลูตาร์ค " ได้เขียนถึงพระนางคลีโอพัตราไว้ว่า " เราได้รับคำบอกเล่าว่า ความงามของคลีโอพัตรานั้นมิใช่งามเลิศไร้ที่ติจนดึงดูดสายตาของผู้พบเห็นในนาทีแรก แต่นางมีนางมีเสน่ห์อันใครต้านทานไม่ได้ มีบุคลิกแปลกและทรงอำนาจ จนทำให้ทุกวาจาและท่าทีของนางสะกดผู้คนให้ตกอยู่ในมนต์เสน่ห์อันนี้เอง "







"สติปัญญาอันชาญฉลาด"

ส่วนหลักฐานยืนยันสิ่งที่สองคือรูปสลักของพระนางที่วิหารแห่งอเล็กซานเดรียกับลูกนกบนเหรียญกษาปณ์ที่

ทำขึ้นในสมัยนั้น ภาพของพระนางคลีโอพัตราคือหญิงสาวที่มีเรือนร่างอันอวบอ้วนใบหน้ากลม ปากบางสวย

แต่มีจมูกที่ทั้งใหญ่และงุ้มแม้ว่ารูปโฉมของพระนางคลีโอพัตรา ราชินีแห่งไอยคุปต์จะไม่เหมือนอย่างที่เราเคยรับรู้ แต่บุคลิกและเอกลักษณ์ของพระนางที่เลอค่ามากกว่ารูปโฉมจนกลายเป็นเสน่ห์ที่มั่นคงและมากขึ้นตามอายุไข นั่นก็คือ สติปัญญาและความรอบรู้พระนางทรงเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์รอบรู้เรื่องรัฐศาสตร์และหลักการปกครองอันเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถพูดได้ถึง 6 ภาษา รวมทั้งยังเก่งเรื่องอักษรศาสตร์และศิลปศาสตร์ เพราะตลอดเวลา 22 ปีที่ทรงครองบัลลังก์อยู่ พระนางแต่งโคลงกลอนไว้มากมายรวมทั้งให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูศิลปกรรมสาขาต่างๆ มากมายด้วยความเก่งกาจของพระนางคลีโอพัตราที่มีอยู่มากมาย ทำให้ฟาโรห์ผู้เป็นพระราชบิดาของพระนางแต่งตั้งให้พระนางขึ้นครองราชบัลลังก์คู่กับพระองค์ในปี 52 ก่อนค.ศ. และพระนางก็สามารถบริหารราชการบ้านเมืองคู่พระบิดามาได้ด้วยความเรียบร้อย จนเมื่อพระบิดาสวรรคต ความทุกข์ความขมขื่นในชีวิตของพระนางก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อตามธรรมเนียมไอยคุปต์ ที่สืบทอดบัลลังก์กันทางผู้หญิง โดยที่ราชธิดาของฟาโรห์จะได้รับการตระเตรียมเพื่อเป็นราชินีโดยที่จะต้องแต่งงานกันในระหว่างพี่น้อง พระนางคลีโอพัตราจึงหนีไม่พ้นกฎเกณฑ์ข้อนี้ พระนางถูกวางตัวให้อยู่ในตำแหน่งาชินีและต้องแต่งงานกับฟาโรห์ปโตเลมีที่ 13 น้องชายของพระนางเอง แต่โชคร้ายที่พี่น้องคู่นี้เกลียดกันถึงขนาดต้องการจะฟาดฟันให้ตายกันไปข้างหนึ่งทีเดียว ผู้เป็นน้องชายจึงจ้องจะหาทางกำจัดพี่สาว ส่วนพระนางคลีโอพัตราก็อยากจะกำจัดน้องชายเสียให้สิ้นเรื่อง แต่ในเวลานั้นพระนางยังไม่ทรงแน่ใจในอำนาจที่มีอยู่ในมือ จึงต้องเป็นฝ่ายล่าถอยออกจากเมืองอเล็กซานเดรียเพื่อไปตั้งหลักพระนางเริ่มมองหาพันธมิตรเพื่อช่วยเหลือในการกำจัดฟาโรห์ออกจากบัลลังก์ให้ได้ ซึ่งเป็นช่วงประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ที่โรงเริ่มรุกรานดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมี จูเลียส ซีซาร์เป็นแม่ทัพยกมาทางอียิปต์ พระนางเห็นเป็นจังหวะเหมาะถึงจึงลอบเข้าเมืองเพื่อไปหาซีซาร์มาถึงตอนนี้ที่เราเห็นในภาพยนตร์คือพระนางคลีโอพัตราซ่อนร่างอยู่ในม้วนพรมแล้วให้ทาสแบกเข้าไปในวังที่ซีซาร์พัก เมื่อคลี่พรมออกก็ปรากฏเรือนร่างเปลือยเปล่าของพระนางออกมาร่ายรำแต่จริงๆ แล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่

แต่เป็นเพราะการเจรจาที่ฉลาดเฉียบแหลมทางสติปัญญาของพระนางต่างหากที่ทำให้ จูเลียต ซีซาร์ ยอมช่วย



ราชินีไอยคุปต์ให้ได้ครองบัลลังก์ แต่เพียงผู้เดียว

ซีซาร์บัญชาการทหารให้ทำลายล้างกองทัพอียิปห์ที่ต่อต้านพระนางคลีโอพัตรา และการสงครามในครั้งนี้ซีซาร์ได้เผาเรือรบของตนตามแผนยุทธการ แต่บังเอิญไฟได้ลามไปถึงหอสมุดอเล็กซานเดรียไหม้ส่วนที่เป็นเอกสารสำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้ในครั้งนนั้นได้รับการขนามนามให้เป็น " ความทรงจำของมนุษชาติ " พอเพลิงสงบก็พบศพของปโตเลมีที่ 13 จมอยู่ในแม่น้ำไนล์ในชุดเกราะทองครบครัน และเล่าลือกันว่าพระนางคลีโอพัตรานั่นเองที่เป็นคนผลักลงไปเมื่อปราศจากผู้ครองนคร ซีซาร์ในฐานะที่ตีเมืองได้ก็ต้องแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้นมา น้องชายอายุ 12 ปีของพระนางคลีโอพัตราจึงได้เป็นปโตเลมีที่ 14

ส่วนซีซาร์และพระนางคลีโอพัตราก็กลายเป็นคู่เชยคู่ดังแห่งยุคเมื่อซีซาร์ยกทัพกลับกรุงโรมได้ไม่นาน พระนางคลีโอพัตราก็ตั้งครรภ์ พระนางได้ตั้งชื่อพระโอรสว่า ปโตเลมีซีซาร์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า ซีซาร์เรียน พระนางพาโอรสมาเยือนกรุงโรมในปี 46 ก่อน ค.ศ. ตามคำเชิญของซีซาร์ซึ่งทำการต้อนรับพระนางอย่างยิ่งใหญ่ พระนางนั้นหวังว่าซีซาร์จะแต่งตั้งโอรสให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจ แต่ว่าจูเลียต ซีซาร์ก็ต้องมาถูกฆ่าตายกลางสภาในกลางเดือนมีนาคมปี 44 ก่อน ค.ศ. นั่นเอง ก่อนตายเขาได้แต่งตั้งหลานชายคือ อ๊อคตาเวีย ขึ้นครองกรุงโรม พระนางคลีโอพัตราจึงต้องพาโอรสกลับอเล็กซานเดรียด้วยความผิดหวัง



"ความรัก คลีโอพัตรา มาร์ค แอนโทนี่"

พระนางคลีโอพัตราเงียบหายไปหลายปีเพราะมัวยุ่งอยู่กับการฟื้นฟูอียิปต์และผูกไมตรีกับเพื่อนบ้านไม่ว่าจะ ยิว หรือ อาหรับ ในที่สุดอียิปต์ก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งจนกระทั่ง มาร์คุส อันโทนิอุส หรือ มาร์ค แอนโทนี ขุนพลของโรมันต้องส่งสารเชิญพระนางคลีโอพัตราไปพบเพื่อหารือขอความช่วยเหลือเมื่อพระนางไปพบ มาร์ค แอนโทนี่ ที่เมืองทาร์ซุส ความรักครั้งยิ่งใหญ่ก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปด้วยความหวานชื่น แต่ก็ให้เกิดเหตุบังเอิญเมื่อ ฟุลเวีย ภรรยาคนที่สามก่อกบฏ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้แก่อ๊อคตาเวีย

และโดนประหารในที่สุด แอนโทนีจึงต้องกลับบ้านและตกลงแต่งงานกับน้องสาวของอ๊อคตาเวียเพื่อสานสัมพันธ์กันใหม่พระนางคลีโอพัตราแทบคลั่งเมื่อได้ทราบการแต่งงานของชู้รัก ต่อมาพระนางก็ให้กำเนิดลูกแฝดแก่แอนโทนีและตั้งชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตราเซเลเน แล้วจู่ๆ มาร์ค แอนโทนี ก็ติดต่อมาอีกทั้งคู่จึงกลับมาคืนดีกันด้วยความหวานชื่นอีกครั้งทางด้านกรุงโรมก็กำลังวุ่นวายเมื่อรู้ว่าแอนโทนีกับคลีโอพัตราสนิทแนบแน่นกันนั้น อาจจะกำลังมีแผนการอย่างอื่นอยู่ อ๊อคตาเวียจึงเรียกร้องให้คลีโอพัตราส่งเสบียงกรังมาเป็นส่วย แต่แอนโทนีห้ามไว้



"สงครามอียิปต์"

เมื่อแน่ใจแล้วว่าแอนโทนีกำลังแปรพักตร์ไปเข้ากับอียิปต์ อ๊อคตาเวียจึงประกาศให้ชาวโรมฟังว่าแอนโทนีมี

แผนจะย้ายเมืองหลวงหรือก่อกบฎนั่นเอง แอนโทนีจึงประกาศว่าอ๊อคตาเวียไม่ใช่ทายาทที่ถูกต้อง แต่ซีซาร์เรียน

เท่านั้นที่เป็นทายาทตัวจริงของซีซาร์และมีสิทธ์ครองกรุงโรม อ๊อคตาเวียจึงเกลี้ยกล่อมสภาซีเนทของโรมให้เห็นถึงอันตรายของอียิปต์ภายใต้การปกครองของแอนโทนีและคลีโอพัตรา ในที่สุดโรมจึงประกาศสงครามกับอียิปต์ปี 31 ก่อน ค.ศ. กองทัพโรมันก็บ่ายหน้าสู่อียิปต์ มาร์ค แอนโทนียกกองทัพเรือออกไป โดยมีคลีโอพัตราลงเรือของเธอไปสังเกตการณ์ กองทัพของฝ่ายโรมันและอียิปต์เข้าโรมรันกันอย่างดุเดือด พระนางคลีโอพัตราตกพระทัย

ในศึกดุเดือดเบื้องหน้า จึงสั่งให้เรือของเธอกลับลำหนี เมื่อแอนโทนีหันมาเห็นเข้าก็ถอดเสื้อเกราะทิ้งแล้วแล่นเรือไล่ตามหลังพระนางมา การรบเป็นอันจบสิ้น รวมทั้งชีวิตของคนทั้งสองด้วย






"ความลับตลอดกาล"

เมื่อพบกับความพ่ายแพ้ มาร์ค แอนโทนี จึงฆ่าตัวตายในอ้อมแขนของพระนางคลีโอพัตรา ส่วนพระนางก็ดื่ม

ยาพิษฆ่าตัวตายตามคู่รักไป อียิปต์จึงตกเป็นของโรมันตั้งแต่นั้นมาหลักฐานของเหตุการณ์ต่างๆ ยังคงปรากฏให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติศาสตร์กันมาหลายยุคหลายสมัย แต่เว้นอยู่อย่างเดียวคือ ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะระบุสุสานของ มาร์ค แอนโทนี และ พระนางคลีโอพัตรา อยู่ที่ไหนความลับเกี่ยวกับที่เก็บศพของคู่รักบันลือโลกคู่นี้จึงยังเป็นความลับอยู่ตลอดมา
















                                                                        

ตำนานไอยคุปต์

ตำนานไอยคุปต์



ชาวอียิปต์ เป็นชนชาติที่เคร่งครัดศาสนาที่สุดในโลก แต่ละแห่งจะมีเทพเจ้าประจำท้องถิ่นของตน เทพเจ้าเหล่านี้มักเป็นสัตว์ หรือคนปนกับสัตว์ เมื่อโนมิสรวบรวมอียิปต์ เทพเจ้าก็มาอยู่รวมกัน อียิปต์จึงมีเทพเจ้าหลายองค์ คือ 1. รา หรือ เร ( Ra or Re ) เป็นสุริยเทพ ( Sun God ) เทพเจ้าสูงสุด 2. โอซิริส ( Osiris ) เป็นเทพเจ้าชั้นสูง จนได้ชื่อว่า เป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์แห่งลุ่มแม่น้ำไนล์ ... เนื่องจากแม่น้ำไนล์ไหลหลากมาก ช่วยให้พืชพันธุ์ริมฝั่ง จึงอุดมสมบูรณ์ กลับคืนสู่ดินแดนเหล่านี้ โอซิริส ถูกเซท ( Seth ) น้องชายฆ่าตาย ร่างกายถูกสับออกเป็นชิ้น ๆ แล้วโยนลงแม่น้ำไนล์ ไอซิส มเหสีของโอซิริส ได้เก็บเอาชิ้นส่วนของศพที่ลอยน้ำ มาชุบชีวิตขึ้นใหม่ การฟื้นขึ้นใหม่เปรียบกับพืชพันธุ์ริมแม่น้ำไนล์ ที่ล้มตาย สูญหาย ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ปรากฏการณ์นี้ ทำให้ชาวอียิปต์ เชื่อในเรื่อง การเกิดใหม่ เป็นแรงผลักดัน ทำให้มีการสร้างมัมมี่ และ ปิรามิด โอซิริส ยังเป็นเทพเจ้าที่ทรงคุณงามความดี และยุติธรรม จึงเป็นตุลาการแห่งโลกหน้า วิญญาณของผู้ตาย จะต้องไปเฝ้า เทพโอซิริส เพื่อตัดสินที่จะไปเกิดใหม่ โอซิริส เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง คนที่ตายไปแล้ว osiris_isis 3. ไอซิส ( Isis ) เป็นมเหสี และน้องสาวของโอซิริส มีรูปโฉมงดงาม ไอซิสถูกเทพเจ้าโฮรัสตัดศีรษะ แล้วเอาหัววัวมาใส่แทน เนื่องจากแม่น้ำไนล์ เมื่อน้ำหลากจะไหลมาโดยไม่มีฝนตก เชื่อว่า เป็นน้ำตาของเทพีไอซิส ร้องไห้ที่สามีถูกเซทน้องชายฆ่าตาย และเทพไอซิส ได้ชื่อว่าเป็นเทพีแห่งพืชพันธุ์ธัญญาหาร และความสมบูรณ์ 4. เซท ( Seth ) เทพเจ้าประจำอียิปต์บน ผู้ประหารโอซิริส ภายหลังถูกทำร้ายจนตาบอด หมายถึง ความจงเกลียดจงชัง ทำให้ตาบอดมืดมัวมองไม่เห็น เป็นตัวแทน ความมืดของพายุร้ายกลางทะเลทราย 5. โฮรัส ( Horus ) เป็นโอรสของโอซิริส และไอซิส มีศีรษะเป็นเหยี่ยว ถือเครื่องหมายของชีวิต 6. อนูบิส ( Anubis ) เดิมเป็นเทพเจ้าผู้ดูแลซากศพ ต่อมาเป็นเทพเจ้าแห่งโลกหน้า เป็นผู้นำเอาหัวใจ ( วิญญาณ ) ของผู้ตาย ขึ้นตราชูชั่งน้ำหนักกับขนนก เพื่อวัดว่าผู้นั้นทำบุญ และบาป มากน้อยเพียงใด เทพเจ้าอนูบิสมีศีรษะเป็นสุนัข 7. ฮาเธอร์ ( Hathor ) เทพีแห่งความรัก และการเกิดของเด็ก มีสัญลักษณ์เป็นวัวตัวเมีย เป็นเทพีผู้ให้น้ำนมเลี้ยงโฮรัส มีลักษณะคือ หัว และ ตัวเป็นมนุษย์ แต่มีสัญลักษณ์เป็นเขาวัว อยู่บนศีรษะ 8. พตาห์ ( Ptah ) เทพเจ้าประจำเมืองเมมฟิส เป็นเทพเจ้าแห่งศิลปะ และการช่าง 9. แอมมอน ( Ammon ) เทพเจ้าประจำเมืองธีบิส มีสัญลักษณ์ได้หลายอย่าง เช่น แกะ แพะ งู ฯลฯ 10. คนูม ( Khnum ) เทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ผู้ให้กำเนิดโลก และพื้นน้ำ มีศีรษะเป็นแกะ 11. เนคเบท ( Nekhbet ) เทพีผู้คุ้มครองฟาโรห์ ประจำอียิปต์บน มีสัญลักษณ์เป็นแร้ง คณะเทพที่สำคัญในสมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom : ,๖๘๖-๒,๑๘๑ ปีก่อนคริสตกาล): เทพบิดรนุม (Num) เป็นเทพบรรพชนผู้สร้างโลก และเทพเจ้าทั้งหมด เป็นเทพที่ไร้ตัวตนและไม่มีรูปเคารพ ชาวอียิปต์สมัยโบราณกระทำการบูชาเทพองค์นี้ด้วยการลงไปแช่น้ำเพียงเอวแล้วยกมือขึ้นทำความเคารพ เทพอาตุม (Atum) เดิมเป็นเทพผู้คุ้มครองสิ่งมีชีวิต เป็นผู้ช่วยเทพบิดรนุมสร้างสิ่งมีชีวิตและภูตผีทั้งหลาย ต่อมาได้ถูกรวมเข้ากับสุริยเทพรา สุริยเทพรา (Ra) พระเป็นเจ้าสูงสุดแห่งสวรรค์ เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์และท้องฟ้า ทรงถือกำเนิดจากดอกบัว และทรงสร้างเทพเจ้าทั้งหมด รวมทั้งมนุษย์ ทรงเป็นผู้ปกครองสวรรค์และโลกมาตั้งแต่ยุคปฐมกาล ต่อมาได้ทรงปกครองเฉพาะทวยเทพในสวรรค์ ภารกิจของพระองค์คือประทับเรือสุริยะโคจรข้ามขอบฟ้าจากเบื้องทิศตะวันออก ผ่านนครต่างๆ ๑๒ แห่งแห่งละ ๑ ชั่วโมง แล้วจึงหายลับไปในรัตติกาลทางทิศตะวันตก เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษ พระเศียรเป็นเหยี่ยวสวมศิราภรณ์รูปดวงสุริยะและ ยูรีอุส (Uraeus)กลับสู่ด้านบน มหาเทพเคพรี (Khepri) หรือ เคเปรา (Khepera) เป็นเทพเจ้าแห่งนครฮีลิโอโปลิส (Heliopolis) สัญลักษณ์ของพระองค์คือดวงอาทิตย์และ แมลงสคาแร็บ (Scarab) ทรงเป็นสัญลักษณ์ของการสร้างโลก และเป็นสุริยเทพอีกองค์หนึ่ง เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่มีพระเศียรเป็นรูปแมลงสคาแร็บ ถือ เซ็พเทอร์ (Sceptre) และ อังค์ (Ankh) เทพ เก๊บ (Geb) เทพแห่งผืนดิน กำเนิดในปฐมกาลพร้อมกับสุริยเทพรา เดิมเป็นเทพที่คอยค้ำท้องฟ้าเอาไว้จนกระทั่ง พญางูอโปฟิส (Apophis) ส่งลูกสองตนมาบั่นพระวรกายของพระองค์ออก จนเป็นผลให้ท้องฟ้าถล่มลงมา ในศิลปะอียิปต์ แสดงด้วยรูปของเทพบุรุษที่อยู่ในท่านอนใต้วงโค้งของท้องฟ้า เทพี นุท (Nut) เทวีแห่งนภากาศ กำเนิดในปฐมกาลพร้อมกับสุริยเทพราและเทพเก๊บ ทรงมีทิพยรูปเป็นเทพนารีเปลือยคร่อมโลก โดยมีเทพเก็บอยู่เบื้องล่าง และมักมีเทพชูอยู่ในท่าประทับยืนค้ำพระองค์ไว้ เทพ ชู (Shu) เทพแห่งอากาศธาตุ โอรสของเทพเก๊บและเทวีนุท เป็นผู้สังหารลูกทั้งสองของพญางูอโปฟิส และยกองค์เทวีนุทขึ้นเบื้องบนดังเดิม จนกระทั่งเทพเก๊บต่อร่างสำเร็จ ท้องฟ้าและแผ่นดินจึงคงอยู่มาได้จนถึงเวลานี้ ในทางศิลปะมักเป็นรูปเทพบุรุษยืนอยู่เหนือเทพเก๊บ ยกพระกรทั้งสองขึ้นค้ำเทวีนุทซึ่งคร่อมโลกเอาไว้ พระนามภาษากรีกว่า ซอส (Sos) เทพี เทฟนุท (Tefnut) เป็นเทวีแห่งละอองฝนและน้ำค้าง เป็นผู้รองรับการมาเยือนโลกของเรือสุริยะ ธิดาของเทพเก๊บและเทวีนุท ขนิษฐาของเทพชู และโดยมากว่าเป็นชายาด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ทรงเป็นหนึ่งในเทวีสิงโตแห่งปฐมกาล ซึ่งบางตำราถือว่าเป็นธิดาของสุริยเทพรา หรือเป็นกำลังของพระองค์ด้วย พระนามภาษากรีกว่า ธเฟนิส (Thphenis)กลับสู่ด้านบน เทวราช อามุน (Amun) ทรงเป็นผู้ปกครองเทพเจ้าทั้งปวง ได้รับการนับถือในธีบีส (Thebes) ต่อมารวมเข้ากับสุริยเทพรา เทวลักษณะดั้งเดิมเป็นเทพบุรุษที่ทรงมีพระเศียรเป็นแกะที่มีเขาโค้งลง หรือพระเศียรแบบมนุษย์สวมศิราภรณ์ที่มีขนนก ๒ เส้น พระนามภาษากรีกว่า อัมมอน (Ammon) มหาเทพพทาห์ (Ptah) เป็นเทพแห่งการสร้างสรรค์ และเป็นเทพผู้สร้างโลกอีกองค์หนึ่ง ซึ่งทรงได้รับการนับถือมากในเมมฟิส (Memphis) เมื่อฟาโรห์เมนีสทรงรวมรวมอาณาจักรอียิปต์บนและล่างแล้ว ทรงยกย่องพระองค์เป็นเทพสูงสุด เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่มีพระเศียรโล้น มักถือเซ็พเทอร์ (Sceptre) และดเจ๊ด (Djed) พระเทพี ฮาเธอร์ (Hathor) ทรงเป็นเทวีแห่งนภากาศอีกองค์หนึ่ง และเป็นมหาเทวีที่สำคัญที่สุดของนิกายที่นับถือสุริยเทพรา โดยเทวปกรณ์กล่าวว่าทรงเป็นธิดาและชายาขององค์สุริยเทพ ทรงเป็นเทวีแห่งความงาม ความรัก ความสุข พิธีกรรม ศิลปวิทยาการ และคุณสมบัติที่ดีของเพศหญิง เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปเขาวัวคู่โอบดวงสุริยะ หรือปรากฏเป็นรูปวัวทั้งตัว ทรงถือ ซิสทรัม (Sistrum)พระนามภาษาอียิปต์ว่า เฮ็ท-เฮร์ท (Het-Hert) เทวีเซ็คเมท (Sekhmet) เทวีสิงโตแห่งเมมฟิส ธิดาของสุริยเทพราซึ่งได้รับเทวโองการให้เที่ยวขจัดคนชั่วผู้คิดกบฏต่อองค์สุริยเทพ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความโหดร้ายน่าสะพรึงกลัวจนสุริยเทพต้องทรงใช้อุบายทำให้กลับเป็นเทวีผู้พิทักษ์ดังเดิม เทวลักษณะเป็นเทพนารีที่มีพระเศียรเป็นสิงโตตัวเมีย สวมศิราภรณ์รูปดวงสุริยะและยูรีอุส พระนามภาษากรีกว่า ซัคมิส (Sakhmis)กลับสู่ด้านบน เทพี บาสท์ (Bast) เดิมเป็นเทวีสิงโตแห่งบูบาสติสในอียิปต์ล่าง ต่อมาได้เปลี่ยนพระเศียรเป็นแมว ทรงเป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก ความสนุกสนานรื่นเริง และเทวีผู้พิทักษ์ เทวลักษณะเป็นเทพนารีที่มีพระเศียรเป็นแมว หรือปรากฏในรูปแมวทั้งตัวทรงถือ ซิสทรัม (Sistrum) และตะกร้า เทพี ไนธ์ (Neith) เป็นเทวีแห่งความร่ำรวยและการสงคราม เทวลักษณะเป็นเทพนารีที่สวมศิราภรณ์ของฟาโรห์แห่งอียิปต์บนและล่างรวมกัน เป็นที่นับถือมากในสมัย ฟาโรห์ซัมเมติคุสที่๑ (Psammeticus I) เมื่อ ๖๐๐ ปีก่อนคริสตกาล ทรงมีสัญลักษณ์เป็นลูกธนูไขว้กัน เทพี วัดเจ็ท (Wadjet) เป็นนางพญางูศักดิ์สิทธิ์แห่งอียิปต์ล่าง และต่อมามีบทบาทในศาสนาโอสิเรียนเป็นอันมาก ทรงมีพระนามภาษากรีกว่า บูโต (Buto) และ เอ็ดโจ (Edjo) คณะเทพที่สำคัญในสมัยอาณาจักรกลาง ( The Middle Kingdom : ,๐๔๐-๑,๗๘๒ ปีก่อนคริสตกาล) และสมัยอาณาจักรใหม่ (The New Kingdom : ,๕๗๐- ๑,๐๗๐ ปีก่อนคริสตกาล): จอมเทพโอสิริส (Osiris) พระเป็นเจ้าสูงสุดแห่งโลก เป็นเทพในวงศ์โอสิเรียนองค์แรกที่ถือกำเนิดขึ้นโดยเทวีนุท ทรงเป็นเทพแห่งอารยธรรม ความดีงาม ความสงบสุข สติปัญญา ต่อมาได้ถูกเทพเซธ (Seth) สังหารและกลายเป็นเทพผู้พิพากษาสูงสุดในสัมปรายภพ เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษสวมอาภรณ์ขาวแบบมัมมี่ สวมศิราภรณ์ทรงสูงแบบอาเตฟ (Atef) และถือเครื่องหมายแสดงความเป็นกษัตริย์ คือตะขอและแส้ พระนามภาษาอียิปต์ว่า อะซาร์ (Asar)กลับสู่ด้านบน พระเทวีไอซิส (Isis) เป็นเทพลำดับที่ ๔ ในวงศ์โอสิเรียน และเป็นมหาเทวีที่ได้รับการนับถือยาวนานที่สุดในศาสนาอียิปต์ ทรงเป็นทั้งพระขนิษฐาและพระชายาของจอมเทพโอสิริส และเป็นผู้ช่วยให้จอมเทพโอสิริสได้ครองอียิปต์แทนสุริยเทพรา อีกทั้งทรงสั่งสอนชาวอียิปต์ให้เป็นผู้มีอารยธรรม รวมทั้งเป็นผู้ทรงอาคมและปรีชาญาณสูงสุด เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปบัลลังก์ หรือรูปเขาวัวคู่โอบดวงสุริยะ พระนามภาษาอียิปต์ว่า เอเซ็ท (Eset) เทพ ฮาร์มาคิส (Harmachis) เป็นเทพลำดับที่ ๒ในวงศ์โอสิเรียน และเป็นผู้สนับสนุนเทพโฮรุสให้ขึ้นครองราชย์ได้สำเร็จ ไม่มีบทบาทสำคัญมากนักในทางเทวปกรณ์ แต่เป็นที่รู้จักกันดีเพราะเทวลักษณะที่เป็นสิงโตมีหัวเป็นมนุษย์ อย่างที่เรียกในภาษากรีกว่า สฟิงซ์ (Sphinx) พระนามภาษาอียิปต์ว่า เฮรู เอ็ม อาคูติ (Heru em Aakhuti) มหาเทพโฮรุส (Horus) เป็นเทพในวงศ์โอสิเรียนอีกองค์หนึ่งที่ได้รับการนับถือสูงสุดจนกระทั่งสิ้นยุคแห่งอารยธรรมอียิปต์ ทรงเป็นโอรสของจอมเทพโอสิริสและพระเทวีไอซิส ทรงถูกเทพเซธสังหารครั้งหนึ่งเมื่อยังเยาว์พระชันษา แต่ก็กลับมาเกิดใหม่และแก้แค้นแทนพระบิดาได้สำเร็จ สถาบันกษัตริย์อียิปต์ถือกันว่าสืบทอดมาจากมหาเทพองค์นี้ เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษพระเศียรเป็นเหยี่ยวสวมศิราภรณ์ของกษัติริย์อียิปต์บนและล่าง พระนามภาษาอียิปต์ว่า เฮรู (Heru)กลับสู่ด้านบน เทพเซธ (Seth) เป็นเทพลำดับที่ ๓ ในวงศ์โอสิเรียน และเป็นเทพแห่งความชั่วร้าย ความฉ้อฉล และพลังอำนาจอันน่าสะพรึงกลัวของทะเลทราย เป็นผู้สังหารจอมเทพโอสิริสและยึดอำนาจการปกครองอียิปต์ไว้ได้ระยะหนึ่ง ก่อนจะถูกเทพโฮรุสแก้แค้น เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษพระเศียรเป็นลา พระนามภาษากรีกว่า ซูเทค (Sutekh) เทพี เนฟธิส (Nephthys) เป็นเทพลำดับที่ ๕ในวงศ์โอสิเรียน และเป็นพระชายาของเทพเซธ ทรงเป็นเทวีแห่งทะเลทรายและความลึกลับ เมื่อจอมเทพโอสิริสสิ้นพระชนม์ ทรงให้การช่วยเหลือพระเทวีไอซิสในการรักษาพระวิญญาณของจอมเทพโอสิริส จึงได้รับการยกย่องให้เป็นชายาที่ถูกต้องของจอมเทพโอสิริสอีกองค์หนึ่ง เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปอักษรไฮโรกลิฟฟิคที่เป็นพระนามในภาษาอียิปต์ว่า เน็บท์-เฮ็ท (Nebt-Het) เทพ อนูบิส (Anubis) เป็นเทพในวงศ์โอสิเรียนอีกองค์หนึ่ง ทรงเป็นโอรสของเทวีเนฟธิสจากความสัมพันธ์ลับกับจอมเทพโอสิริส และเป็นเทพแห่งมรณศาสตร์ ทำหน้าที่ควบคุมพิธีกรรมที่เกี่ยวกับศพ รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์สุสาน เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่มีพระเศียรเป็นสุนัขไน พระนามภาษาอียิปต์ว่า อันปู (Anpu) เทพ ธ็อธ (Thoth) ในชั้นเดิมทรงมีความเกี่ยวข้องกับสุริยเทพรา แต่มามีบทบาทสำคัญยิ่งกว่าในนิกายโอสิเรียน โดยทรงเป็นเทพแห่งเวทมนต์และปรีชาญาณ รวมทั้งวิชาความรู้ทุกสาขา เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่มีพระเศียรเป็นนกช้อนหอย (Ibis) พระนามภาษาอียิปต์ว่า ดเจฮูติ (Djehuti) เทพโซคาร์ (Socar) เป็นเทพแห่งนครสุสานของเมมฟิส ทรงเป็นเทพแห่งความตายและการเกิดใหม่ เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษที่ทรงมีพระเศียรเป็นเหยี่ยว สวมศิราภรณ์แบบ อาเตฟ (Atef) พัสตราภรณ์เป็นสีขาวอย่างจอมเทพโอสิริส ทรงถือเซ็พเทอร์และเครื่องหมายของฟาโรห์รวมกัน พระนามภาษากรีกว่า โซคาริส (Sokaris) เทวีมุท (Mut) เป็นเทวีสิงโตอีกองค์หนึ่ง หรือบางครั้งอาจปรากฏในรูปแม่วัวศักดิ์สิทธิ์หรือนกแร้ง ในเวลาต่อมาได้รับการนับถือว่าเป็นมเหสีของเทวราชอามุน ทรงสวมศิราภรณ์นกแร้งและมงกฏมหาเทวีซ้อนกันสองชั้น มักปรากฏพระองค์เคียงคู่เทวราชอามุน จันทรเทพ คอนซู (Khonsu) เทพแห่งรัตติกาล ผู้โคจรข้ามขอบฟ้ายามกลางคืนด้วยจันทรนาวา ผู้ปราบปีศาจและสิ่งชั่วร้าย เทพแห่งการพนัน เทวลักษณะเป็นยุวเทพซึ่งโกนพระเศียรเกือบหมด เว้นไว้แต่หางเปียด้านหลัง และสวมศิราภรณ์รูปจันทร์เสี้ยวกับพระจันทร์เต็มดวง เทพี มาอัท (Ma’at) เทวีแห่งความยุติธรรม ความจริง ระเบียบ กฎเกณฑ์ และดุลยภาพ ทรงเป็นชายาของเทพธอธ พระนางประทับในหอพิพากษาของจอมเทพโอสิริส เพื่อวัดน้ำหนักของหัวใจผู้วายชนม์เปรียบเทียบกับขนนกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระนาง เทวลักษณะเป็นเทพนารีสวมศิราภรณ์รูปขนนก ๑ เส้น พระนามภาษากรีกว่า มายเอ็ท (Mayet) เทพ คนุม (Knum) เทพผู้ควบคุมแม่น้ำ บันดาลความอุดมสมบูรณ์ และให้กำเนิดมนุษย์ด้วยการปั้นขึ้นจากดินเหนียว เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษมีพระเศียรเป็นแกะตัวผู้ที่มีเขาขนาดใหญ่ สวมศิราภรณ์ขนาดใหญ่ ถือเซ็พเทอร์ พระนามภาษากรีกว่า คะนูมิส (Khnoumis) เทพ มิน (Min) เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ กามารมณ์ และพลังแห่งเพศชาย รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์ถนนหนทางต่างๆ เทวลักษณะเป็นเทพบุรุษเปลือยสวมศิราภรณ์รูปขนนกคู่ พระนามภาษากรีกว่า เคมมิส (Chemmis) เทพี เซลเคท (Selket) เป็นเทวีแห่งเวทมนต์ และในเทวปกรณ์ว่าเป็นธิดาองค์หนึ่งของสุริยเทพรา เป็นผู้คุ้มครองการสมรส และการจารึกอักษรไฮโรกลิฟฟิค เทวลักษณะเป็นเทพนารีซึ่งมีรูปแมงป่องอยู่บนพระเศียร หรือบางครั้งปรากฏเป็นรูปแมงป่องทั้งตัว แต่มีหัวเป็นผู้หญิง พระนามภาษากรีกว่า เซลคิส (Selkis) เทวีเทาเอเร็ท (Taueret) เป็นเทวีซึ่งปรากฏในรูปฮิปโปโปเตมัสในลักษณะที่ยืนด้วยขาหลังทั้งสอง เป็นที่นับถือกันมากในด้านการคุ้มครองเด็กเกิดใหม่และเด็กอ่อน รวมทั้งเป็นผู้พิทักษ์จารึกไฮโรกลิฟฟิคทั้งปวง พระนามภาษากรีกว่า ธีริส (Thoeris) เทวีเฮเคท (Heket) เทวีแห่งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประเภทกบ (Amphibian) อาจปรากฏพระองค์ในรูปกบทั้งตัว หรือกบที่มีส่วนหัวเป็นผู้หญิง เป็นเทวีแห่งความอุดมสมบูรณ์ การพูด และการคุ้มครองเด็ก เทพเบส (Bes) เป็นเทพพื้นเมืองซึ่งมีเทวลักษณะเด่นที่สุดในศิลปะอียิปต์ คือแม้แต่ในภาพจิตรกรรมก็แสดงออกด้วยเทวรูปด้านหน้าเสมอ เทพองค์นี้ทรงมีพระเศียรโต พระกายเตี้ยเล็ก สวมศิราภรณ์รูปขนนกกระจอกเทศ ฉลองพระองค์ด้วยหนังเสือดาว เป็นเทพแห่งการกำเนิด และคุ้มครองคนในบ้านจากภูตผีปีศาจ เทพ โซเบค (Sebekh) เทพแห่งจระเข้ ผู้รักษากฎแห่งแม่น้ำไนล์ ปรากฏพระองค์เป็นรูปจระเข้ทั้งตัวสวมศิราภรณ์ขนนกคู่ประกอบด้วยเขาแกะ เขาวัวคู่โอบดวงสุริยะและยูรีอุสสองข้าง หรือรูปเทพเจ้าที่มีพระเศียรเป็นจระเข้สวมศิราภรณ์ชนิดเดียวกัน เป็นที่นับถือมากในราชวงศ์ที่ ๑๒-๑๓ พระนามภาษากรีกว่า ซูคอส (Suchos)